ความเป็นครู
การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษ์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
มีการเกื้อหนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน
และบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาดังกล่าวก็คือครูนั่นเอง
เพราะครูเป็นผู้ที่มีหน้าที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้
และการพัฒนาโดยรอบให้เกิดในตัวผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในเชิงวิชาการ
นำไปสู่การมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รวมทั้งการดำรงตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ดังนั้นการจะพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงย่อมต้องพึ่งพาอาศัยครูที่มีคุณภาพ
ครูที่มีความเป็นครู
คำว่า ครู หรือคุรุ
ในภาษาไทย มาจากคำว่า คุรุธาตุ หรือ ครธาตุ
ซึ่งแปลความได้ว่าเป็นผู้ที่หนักในวิชาความรู้ ในคุณธรรม และในภารกิจการงาน
รวมทั้งการทำหน้าที่ยกย่องเชิดชูศิษย์ของตนเอง จากผู้ที่ไม่รู้ให้กลายเป็นผู้รู้ ผู้ที่ไม่มีความสามารถให้มีความสามารถ
ผู้ที่ไม่มีความคิดให้มีความคิด ผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมให้มีความเหมาะสม
และจากผู้ที่ไม่พึงปรารถนาให้เป็นผู้ที่พึงปรารถนา
ซึ่งตามนัยของความเป็นครูในภาษาไทยจึงเป็นผู้ที่ต้องทำงานหนักจริงๆ ส่วนในภาษาอังกฤษมาจากคำว่า TEACHER ก็เช่นเดียวกัน
กล่าวคือ
คุณลักษณะประการแรกของความเป็นครูก็คือ ต้องสอนได้ สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในตนเอง
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี
โดยการ :
1.
ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
2.
สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
3.
สอนศิลปวิทยาให้หมดสิ้น
4.
ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
5.
สร้างเครื่องคุ้มกันในสารทิศ (สอนให้รู้จักเลี้ยงตัว
รักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี)
และที่สำคัญคือ
6. ต้องสอนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา
มีความคิด และสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตามการสอนของครูแต่ละคนนั้นขึ้นกับทักษะและลักษณะของตนเอง
(Teaching skill and style) เป็นการนำเทคนิควิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านมาผสมผสานให้เหมาะสมสอดคล้องกัน
จึงต้องใช้เทคนิคและทักษะหลายด้านร่วมกับประสบการณ์เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
และต้องมุ่งจัดสรรการเรียนรู้นั้นไปในทิศทางที่ดีและมีคุณธรรมในสังคม
บทบาทการสอนของครูจึงต้องดำเนินการ โดย
1. สอนเนื้อหาวิชาการตามหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย โดยการมีการเตรียมการสอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ตั้งแต่การทำ Course Syllabus แผนจัดการเรียนรู้หรือแผนการสอนรายชั่วโมง การดำเนินการสอน และการประเมินผล มีการปรับปรุงพัฒนา
และสร้างผลงานทางวิชาการอยู่เสมอ
2. สอนการปรับตัวให้เหมาะสมในสังคม
คุณลักษณะประการแรกของความเป็นครูก็คือ ต้องสอนได้ สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในตนเอง
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี
โดยการ :
1.
ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
2.
สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
3.
สอนศิลปวิทยาให้หมดสิ้น
4.
ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
5.
สร้างเครื่องคุ้มกันในสารทิศ (สอนให้รู้จักเลี้ยงตัว
รักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี)
และที่สำคัญคือ
6. ต้องสอนให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา
มีความคิด และสร้างสรรค์
อย่างไรก็ตามการสอนของครูแต่ละคนนั้นขึ้นกับทักษะและลักษณะของตนเอง
(Teaching skill and style) เป็นการนำเทคนิควิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านมาผสมผสานให้เหมาะสมสอดคล้องกัน
จึงต้องใช้เทคนิคและทักษะหลายด้านร่วมกับประสบการณ์เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
และต้องมุ่งจัดสรรการเรียนรู้นั้นไปในทิศทางที่ดีและมีคุณธรรมในสังคม
บทบาทการสอนของครูจึงต้องดำเนินการ โดย
1. สอนเนื้อหาวิชาการตามหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย โดยการมีการเตรียมการสอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ตั้งแต่การทำ Course Syllabus แผนจัดการเรียนรู้หรือแผนการสอนรายชั่วโมง การดำเนินการสอน และการประเมินผล มีการปรับปรุงพัฒนา
และสร้างผลงานทางวิชาการอยู่เสมอ
2. สอนการปรับตัวให้เหมาะสมในสังคม
3. สอนให้ให้เจริญเติบโต มีความคิด มีเหตุผล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามแผนที่ได้กำหนดหรือเตรียมการไว้เป็นอย่างดี
3. ABILITY (ความสามารถ)
คำว่า “ความสามารถ” หมายถึงกำลังที่มีจริงในการแสดงหรือในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำทางกายหรือทางจิตใจ
และไม่ว่ากำลังนั้นจะได้มาจากการฝึกฝนอบรมหรือไม่ก็ตาม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ความสามารถทั่วไป (general ability) และความสามารถพิเศษ (specific
ability) นอกจากนั้นครูจะต้องทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือนวตกรรมทางการศึกษา
(inovation in teaching) เพื่อจะช่วยปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นไป
การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกับการวินิจฉัย การรักษาโรคทางการแพทย์หรือจะสมมติเป็นการปรุงอาหารในครัวก็ได้
ที่จะต้องแสดงฝีมืออย่างเต็มที่ให้ได้อาหารอร่อยที่สุด ดังนั้นครูจึงต้องประเมินตัวเอง ประเมินการสอน
และปรับปรุงข้อบกพร่องของสิ่งที่ตนสอนไปเสมอ (diagnosis and treatment of
course defects) เพื่อให้ผลการสอนดีที่สุด
นอกจากครูจะต้องเข้าใจบทบาทความเป็นครูของตนเองแล้ว
(teacher’s role) ครูควรจะมีความสามารถดังนี้
- จิตวิทยาการเรียนรู้ (psychology
of learning)
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสอนอย่างชัดเจน
(specific of objectives)
- การวิเคราะห์เนื้อหา (content
analysis)
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (learning
activities)
- การนำโสตทัศนูปกรณ์มาช่วยสอน (the
application of audiovisual aids)
- การจัดทำแผนการสอน (course
syllabus and Lesson planning)
- การประเมินการเรียนการสอน
(assessment)
4. CHARACTERISTIC (คุณสมบัติ)
ความหมายที่ใช้โดยทั่วๆไป
หมายถึง คุณภาพหรือคุณสมบัติที่สังเกตได้ชัดเจนในตัวบุคคล
ทำให้ทราบได้ว่าบุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ในความหมายเฉพาะ อุปนิสัยหมายถึง
ผลรวมของนิสัยต่างๆ ที่บุคคลมีอยู่ หรือผลรวมของลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ
ของบุคคล ตามความเข้าใจของคนทั่วไป
คำว่าอุปนิสัยนี้แฝงความหมายของคุณธรรมจรรยาในตัวด้วย เช่น เราพูดว่าเขาผู้นั้นมีอุปนิสัยดี
เป็นต้น ในคุณสมบัติของความเป็นครู สิ่งสำคัญคือ
ครูจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน ต่อวิชาที่สอน
และต่องานที่ทำ
5. HEALTH (สุขภาพดี)
การมีสุขภาพดี
หมายถึงการไม่มีโรค รวมถึงมีสภาพทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้ที่เป็นครูนั้นต้องทำงานหนัก
ดังนั้นสุขภาพทางด้านร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าคือสุขภาพจิต
คงเคยได้ยินคำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย
จิตดีนั้นไม่เพียงแต่ไม่เป็นโรคจิตโรคประสาทเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ
มีการงานและมีชีวิตที่เป็นสุขทำประโยชน์ต่อสังคมด้วยความพอใจ
สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งต่อบุคคลที่เราอยู่ร่วมและต่อสังคมที่เราเกี่ยวข้อง
โดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
6. ENTHUSIASM (ความกระตือรือล้น)
ความกระตือรือล้นของครูนั้น
อาจจะเป็นการใฝ่หาความรู้ใส่ตน
เพราะจะต้องถือว่าการใฝ่หาความรู้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการพัฒนาตน
(Learning to teach is a process of self-development) การเพิ่มพูนความรู้มีหลายรูปแบบ
เช่น การประชุมสัมมนา อบรมระยะสั้น
จะทำให้ครูที่ขาดความรู้ในเรื่องที่ตนสอนได้มีความรู้เพิ่มเติมและทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น ความกระตือรือล้นของครูนั้น ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาตัวครูเท่านั้น
แต่จะต้องมีความกระตือรือล้นในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย
7. RESPONSIBILITY (ความรับผิดชอบ)
ครูที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นอย่างดี
รวมทั้งยอมรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม
และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข
7. RESPONSIBILITY (ความรับผิดชอบ)
ครูที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นอย่างดี
รวมทั้งยอมรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม
และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข
การสอนของครู
สำหรับการสอนของครูในการช่วยเหลือผู้เรียนนั้น
คำถามต่อไปนี้จะบ่งชี้ว่าครูท่านนั้นเป็นครูที่ดีหรือไม่ รวมทั้งตัวเราเองที่เป็นครูด้วย
ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
การสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเรียนรู้ด้วยตนเอง
(Self learning)
1. ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเกี่ยวกับวิชาการที่เรียนหรือไม่
?
2. ให้ผู้เรียนค้นคว้าเพื่อตอบคำถามหรือเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมหรือไม่
?
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด
และฝึกทักษะในการทำงานหรือไม่ ?
การประเมินและการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลงานที่ทำ
(Feed back)
4. บอกผู้เรียนหรือไม่ว่าเมื่อมอบหมายงานให้ทำแล้ว
เขาทำงานเป็นอย่างไร?
5. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ถึงข้อบกพร่องต่างๆ
ที่ทำ ?
6. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่
ว่าทำอย่างไรจึงจะทำได้ดีกว่านี้ ?
การให้ความกระจ่างชัดในการสอน
(Clearity)
7. สังเกตหรือไม่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถได้ยินและมองเห็นชัดเจน
?
8. ใช้คำพูดง่ายๆ
เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนหรือไม่ ?
9. ใช้อุปกรณ์การสอนเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีความหมายยิ่งขึ้นหรือไม่
?
ซึ่งอุปกรณ์การสอนดังกล่าว อาจประกอบด้วย
- รูปภาพ ภาพถ่าย ภาพวาด - ภาพโปสเตอร์
- แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ - ภาพหลัก
- ภาพติดกระดานผ้าสำลี - ภาพกระจกฉาย
- ภาพยนตร์ - ภาพชุด
- วัตถุของจริง - วัตถุจำลอง
- นิทรรศการ - เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
การทำให้การสอนมีความหมายมากขึ้น
(Making your meaningful)
10. ได้สอนโดยเชื่อมโยงบทเรียนที่สอนกับสภาพที่ผู้เรียนเป็นอยู่หรือไม่
?
11.
ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพพจน์กระจ่างขึ้นหรือไม่ ?
12. ได้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสอนกับงานที่ผู้เรียนจะต้องกระทำหรือไม่
?
13. ได้สรุปเพื่อให้ผู้ได้แนวคิดที่ดีอีกครั้งหรือไม่
?
จะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเรียนรู้เรื่องสิ่งที่สอน
(Ensuring mastery)
14. ได้ตรวจสอบหรือไม่ ? ว่าผู้เรียนทุกคนเข้าใจในทุกๆเรื่อง ทุกๆจุดที่สอน ?
15. เคยตรวจสอบหรือไม่ว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถฝึกทักษะได้หรือไม่
?
จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
(Individual differences)
16.
ยินยอมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ทำงานตามความสามารถและใช้เวลาที่ไม่เท่ากัน
หรือไม่
?
17. เคยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยวิธีแตกต่างกันออกไปหรือไม่
?
18. เคยใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธีหรือไม่
ซึ่งวิธีสอนมีหลายวิธี ดังนี้
-
อธิบายจากหนังสือแล้วให้ผู้เรียนไปอ่านเองนอกเวลา
-
อธิบายจากหนังสือแล้วให้อ่านหนังสือพร้อมกัน
-
วิธีประชุมกลุ่มให้ผู้เรียนออกความคิดเห็นอภิปรายร่วมกัน
-
การแสดงหรือเล่นละครสั้นๆ
-
สอนจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์
-
ใช้กรณีศึกษา
-
ใช้วิธี constructivism
-
ทำรายงานค้นคว้าเป็นรายบุคคล
-
ทำรายงานค้นคว้าเป็นกลุ่ม
-
วิธีสาธิต
-
ให้มีการฝึกปฏิบัติ
-
ให้ทำโครงการหรือโครงงาน
-
การทัศนศึกษา
-
จัดหาประสบการณ์ตรง (first hand
experience) ทั้งในห้องเรียนและนอก ห้องเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
- ใช้วิธีการปฏิบัติให้เกิดกระบวนการทางปัญญา เป็นต้น
ให้การดูแลผู้เรียนทุกคน
(Caring)
19. เคยให้ความมั่นใจแก่ผู้เรียนหรือไม่ว่าครูรักผู้เรียนทุกคนไม่ว่าจะทำดีหรือไม่?
20.
แสดงให้ผู้เรียนเห็นหรือไม่ว่าสนใจและเตรียมสอนอย่างดีตลอดช่วงเวลาที่สอน?
21. เคยฟังความคิดเห็น หรือให้ผู้เรียนวิจารณ์การสอนบ้างหรือไม่?
การสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเรียนรู้ด้วยตนเอง
(Self learning)
1. ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเกี่ยวกับวิชาการที่เรียนหรือไม่
?
2. ให้ผู้เรียนค้นคว้าเพื่อตอบคำถามหรือเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมหรือไม่
?
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด
และฝึกทักษะในการทำงานหรือไม่ ?
การประเมินและการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลงานที่ทำ
(Feed back)
4. บอกผู้เรียนหรือไม่ว่าเมื่อมอบหมายงานให้ทำแล้ว
เขาทำงานเป็นอย่างไร?
5. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ถึงข้อบกพร่องต่างๆ
ที่ทำ ?
6. อธิบายให้ผู้เรียนทราบหรือไม่
ว่าทำอย่างไรจึงจะทำได้ดีกว่านี้ ?
การให้ความกระจ่างชัดในการสอน
(Clearity)
7. สังเกตหรือไม่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถได้ยินและมองเห็นชัดเจน
?
8. ใช้คำพูดง่ายๆ
เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนหรือไม่ ?
9. ใช้อุปกรณ์การสอนเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีความหมายยิ่งขึ้นหรือไม่
?
ซึ่งอุปกรณ์การสอนดังกล่าว อาจประกอบด้วย
- รูปภาพ ภาพถ่าย ภาพวาด - ภาพโปสเตอร์
- แผนภูมิ แผนผัง แผนที่ - ภาพหลัก
- ภาพติดกระดานผ้าสำลี - ภาพกระจกฉาย
- ภาพยนตร์ - ภาพชุด
- วัตถุของจริง - วัตถุจำลอง
- นิทรรศการ - เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
การทำให้การสอนมีความหมายมากขึ้น
(Making your meaningful)
10. ได้สอนโดยเชื่อมโยงบทเรียนที่สอนกับสภาพที่ผู้เรียนเป็นอยู่หรือไม่
?
11.
ได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพพจน์กระจ่างขึ้นหรือไม่ ?
12. ได้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสอนกับงานที่ผู้เรียนจะต้องกระทำหรือไม่
?
13. ได้สรุปเพื่อให้ผู้ได้แนวคิดที่ดีอีกครั้งหรือไม่
?
จะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเรียนรู้เรื่องสิ่งที่สอน
(Ensuring mastery)
14. ได้ตรวจสอบหรือไม่ ? ว่าผู้เรียนทุกคนเข้าใจในทุกๆเรื่อง ทุกๆจุดที่สอน ?
15. เคยตรวจสอบหรือไม่ว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถฝึกทักษะได้หรือไม่
?
จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน
(Individual differences)
16.
ยินยอมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ทำงานตามความสามารถและใช้เวลาที่ไม่เท่ากัน
หรือไม่
?
17. เคยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยวิธีแตกต่างกันออกไปหรือไม่
?
18. เคยใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธีหรือไม่
ซึ่งวิธีสอนมีหลายวิธี ดังนี้
-
อธิบายจากหนังสือแล้วให้ผู้เรียนไปอ่านเองนอกเวลา
-
อธิบายจากหนังสือแล้วให้อ่านหนังสือพร้อมกัน
-
วิธีประชุมกลุ่มให้ผู้เรียนออกความคิดเห็นอภิปรายร่วมกัน
-
การแสดงหรือเล่นละครสั้นๆ
-
สอนจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์
-
ใช้กรณีศึกษา
-
ใช้วิธี constructivism
-
ทำรายงานค้นคว้าเป็นรายบุคคล
-
ทำรายงานค้นคว้าเป็นกลุ่ม
-
วิธีสาธิต
-
ให้มีการฝึกปฏิบัติ
-
ให้ทำโครงการหรือโครงงาน
-
การทัศนศึกษา
-
จัดหาประสบการณ์ตรง (first hand
experience) ทั้งในห้องเรียนและนอก ห้องเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน
- ใช้วิธีการปฏิบัติให้เกิดกระบวนการทางปัญญา เป็นต้น
ให้การดูแลผู้เรียนทุกคน
(Caring)
19. เคยให้ความมั่นใจแก่ผู้เรียนหรือไม่ว่าครูรักผู้เรียนทุกคนไม่ว่าจะทำดีหรือไม่?
20.
แสดงให้ผู้เรียนเห็นหรือไม่ว่าสนใจและเตรียมสอนอย่างดีตลอดช่วงเวลาที่สอน?
21. เคยฟังความคิดเห็น หรือให้ผู้เรียนวิจารณ์การสอนบ้างหรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น